...::: ก้าวที่สาม...เริ่มต้นพันธกิจด้านการศึกษาของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร :::...
และก้าวต่อ ๆ มาในดินแดนสยามประเทศ

 

ในปี ค.ศ. 1902 ข่าวที่มาจากประเทศฝรั่งเศสน่ากังวลมาก เนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสในขณะนั้น ได้ออกกฎหมายให้โอนทรัพย์สินของคณะนักบวชทั้งหลาย
ให้ตกเป็นของฆราวาส และมีผลบังคับครอบคลุมไปถึงอาณานิคมทุกแห่งของประเทศฝรั่งเศส แมร์กังดีด รู้สึกถึงความทุกข์ร้อนใจที่กำลังเข้ามา
ด้วยว่ากฎหมายดังกล่าว ได้รวมเวียดนาม ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของคณะฯในภูมิภาคนี้ไว้ด้วย  ท่านจึงคำนึงถึงคณะเซอร์จำนวนมาก
ดังนั้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 ท่านได้เขียนจดหมายถึง
ฯพณฯ พระสังฆราช ชอง หลุยส์ เวย์ พระสังฆราชประจำราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น

"หากว่าพระคุณเจ้าต้องการพวกเซอร์สำหรับมิสซังของพระคุณเจ้า
ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะดำเนินการตามนั้น..."

พระคุณเจ้าได้เสนอว่า

"นี่คือสิ่งที่เราจะสามารถทำได้ คือ เปิดสถานฝึกสอนเย็บปักถักร้อย ซึ่งเด็กสาว ๆ
จะมาได้ทุกวันเพื่อเรียนการฝีมือ ประดิษฐ์เสื้อผ้าที่เย็บปักอย่างละเอียดงดงาม หรือมิฉะนั้น
ก็เรียนพูดภาษาอังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส ฝรั่งเศส สถานฝึกซึ่งจะเปิดขึ้นนี้
จะสร้างอยู่ใกล้กับวัดอัสสัมชัญ ตรงข้ามสำนักพระสังฆราช....

นอกจากโครงการนี้แล้ว เราก็อาจจะรรับเซอร์ อีก 5 หรือ 6 คน ให้ไปอยู่ที่บ้านหนึ่งของเรา ใกล้ ๆ กับวัดซางตาครู้สบนฝั่งขวาของแม่น้ำ เกือบจะตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวัง...ส่วนในต่างจังหวัดที่แปดริ้ว อาจจะใช้นักบวชหญิงสักสามคนให้เปิดสถานฝึกเย็บปักถักร้อย และโรงเรียนหนึ่งสำหรับเด็กพื้นเมืองล้วน ๆ และถ้าเพิ่มเซอร์อีกสองคนที่โรงพยาบาลและอีกคนหนึ่งที่สามเสน..."


...::: โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ บางรัก กรุงเทพฯ - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ :::...

และคณะฯ จึงเริ่มเปิดโรงเรียนแห่งแรกขึ้นในปี ค.ศ. 1905 คือ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

และนี่คือก้าวที่สามและก้าวแรกที่สำคัญยิ่งทางด้านการศึกษา
ของคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรในประเทศไทย
มิใช่เพียงสามก้าวแรกเท่านั้นในดินแดนสยาม
คณะเซอร์ยังคงก้าวต่อไปเรื่
อย ๆ ตราบจนทุกวันนี้
เพื่อนำข่าวดีแห่งองค์พระคริสตเจ้าสู่ชาวไทย เฉกเช่นเดียวกับท่านนักบุญเปาโล องค์อุปถัมภ์ของคณะ


...::: โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ธนบุรี กรุงเทพฯ - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ :::...

ค.ศ. 1906 คณะฯ เปิดโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ที่กุฎีจีน ธนบุรี ในครั้งแรกนั้น โรงเรียนตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(ที่ตั้งของโรงเรียนซางตาครู้สศึกษาในปัจจุบัน)


...::: โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ :::...

ค.ศ. 1907 คณะฯ รับดำเนินกิจการของ โรงเรียนพระกุมารเยซูคอนแวนต์ จากคณะภคินีแซงต์มอร์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น
"โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์"


...::: โรงเรียนโรซารีโอคอนแวนต์ :::...

และในปี ค.ศ. 1907 - 1925 คณะฯยังได้รับดำเนินกิจการของโรงเรียนโรซารีคอนเวนต์ ที่วัดกาลหว่าร์
ต่อจากคณะภคินีเซนต์มอร์ด้วยเช่นกัน

ค.ศ. 1908 แมร์กังดีด ได้สถาปนาให้โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นศูนย์กลางที่ตั้งแห่งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร
ในสยาม เนื่องจากมีอาณาบริเวณกว้างขวางเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางของคณะฯ ซึ่งในเวลานั้น แมร์แซงต์ ซาเวียร์
เป็นอธิการิณีอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้

ค.ศ. 1909 คณะฯ ได้รับมอบให้ดำเนินกิจการโรงเรียนของวัดเซนต์ปอลที่แปดริ้ว (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกง)
ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากกับโรงเรียนเซนต์แอนโทนีในปัจจุบัน(ฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง) ซึ่งคณะได้เริ่มทำงานที่โรงเรียนเซนต์แอนโทนี

ในปี ค.ศ. 1947 ที่แห่งนี้ คณะฯ ได้รับกระแสเรียกอย่างมาก โดยมีคุณพ่อชอง อังรี การิเอ เป็นผู้สนับสนุนบรรดา
เด็กสาวที่ปรารถนาที่จะถวายตัวในคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

ค.ศ. 1913 - 1925 คณะฯ ได้รับคำเชิญของคุณพ่อเปาโล ซัลม่อน ให้ดำเนินงานอบรมนวกสถาน ดูแลเด็กกำพร้า
สอนหนังสือในโรงรียน และโรงพยาบาลรักษาคนโรคเรื้อนที่บางนกแขวก (ปัจจุบันคณะฯ มิได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว)

 


...::: โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ สามเสน กรุงเทพฯ - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ :::...

ค.ศ. 1925 คณะฯ ได้เปิดโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ที่สามเสน ตามความประสงค์ของบาทหลวงบรัวซาร์ (BROZART) และสถานที่แห่งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเป็น ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ทรงศึกษาที่โรงเรียนนี้ระหว่าง ปี ค.ศ. 1940 - 1943 เลขประจำตัว 371

ค.ศ. 1926 เปิดนวกสถานของคณะฯ ในโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เพื่ออบรมหญิงสาวที่ปรารถนาจะเป็นนักบวช
โดยมีเซอร์เดซีเร เป็นนวกาจารย์ท่านแรก และมีเซอร์ 3 ท่านแรกที่เข้าใน นวกสถานแห่งนี้ คือ :

1. เซอร์เอมิเลียน ปานประดับ 2. เซอร์มาเรีย อันโตเนียว 3. เซอร์ออกุสตา-โจเซฟ อันโตเนียว

โดยก่อนหน้านี้ผู้ที่ปรารถนาจะเข้าคณะฯ ต้องเดินไปเมืองชาร์ตร ประเทศฝรั่งเศส หรือ ที่ไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เพื่อรับการฝึกอบรม


...::: เซอร์เดซีเร - นวกาจารย์ท่านแรกของนวกสถานของคณะฯ ในสยาม :::...


...::: จากซ้ายไปขวา : เซอร์เอมิเลียน ปานประดับ, เซอร์มาเรีย อันโตเนียว, เซอร์ออกุสตา-โจเซฟ อันโตเนียว :::...

 

ช่วงเวลาต่อมานั้น นับเป็นช่วงเวลาที่คณะฯ ดำเนินไปด้วยความยากลำบากมากที่สุด เพราะเนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ สงครามโลกครั้งที่ 2 และยังมีการเบียดเบียนศาสนา [A]
แต่คณะก็สามารถผ่านพ้นช่วงเวลานั้นมาได้ โดยการนำของแมร์มารี หลุยส์


...::: คณะเซอร์ กลุ่มแรก ๆ ที่ทำงานในเขตแปดริ้ว :::...

ค.ศ. 1933 - 1953 คณะฯ รับผิดชอบโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์(สาขา) หรือโรงเรียนวัดอัสสัมชัญ ปัจจุบันคือโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
(ปัจจุบันคณะมิได้บริหารงานแล้ว)

ค.ศ. 1947 คณะฯ ได้ย้ายกิจการจากวัดเซนต์ปอล ข้ามฝั่งแม่น้ำมาเป็น โรงเรียนเซนต์แอนโทนี ทั้งนี้เนื่องจากการแยกมิสซังจันทบุรี
ออกจาก มิสซังกรุงเทพฯ [B]

ค.ศ. 1947 คณะฯ ดำเนินงานด้านการศึกษา การพยาบาล และเมตตาสงเคราะห์ด้วยดีตลอดมา และยังมีผู้สนใจเข้าบวชในคณะฯ และสมาชิกเพิ่งจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะเซอร์ในประเทศไทยจึงได้รับการสถาปนาเป็นแขวงอิสระ ขึ้นตรงกับสำนักงานใหญ่ที่ชาร์ตร โดยมีแมร์อานน์ แชร์แมน ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวงฯ คนแรกของแขวงประเทศไทย


...::: โรงเรียนวจนคาม ซึ่งสถานที่ตั้งของโรงเรียนในอดีตปัจจุบันตั้งอยู่ตรงข้ามที่ทำการเทศบาลตำบลศรีราชาปัจจุบัน จ.ชลบุรี :::...

ค.ศ. 1951 คณะฯ เปิดโรงเรียนวจนคามที่ศรีราชา


...::: โรงเรียนมารดานฤมล และการเดินทางมาเรียนของนักเรียน ในอดีต :::...

ค.ศ. 1954 คณะฯ เข้าบริหารกิจการของโรงเรียนมารดานฤมล บางวัว จ.ฉะเชิงเทรา


...::: โรงเรียนวันทามารีย์ ที่ปากน้ำโพ ปัจจุบันคือ โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ :::...
โดยเปลี่ยนชื่อเมื่อปี ค.ศ. 1999

ค.ศ. 1955 คณะฯ เปิดโรงเรียนวันทามารีย์ ที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์


...::: อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา :::...

ค.ศ. 1956 คุณพ่อมารีอุส หลุยส์ เบรย์ ได้ขอคณะเซอร์ร่วมบริหารโรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา
และต่อมาในปี ค.ศ. 1958 คุณพ่อได้เปิดเซนต์เมรี่คลินิก และดำเนินงานอยู่จนเป็นโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ คณุพ่อยังคงให้คณะเซอร์ช่วยบริหารทั้งคลินิก และโรงพยาบาลอยู่เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน (ปัจจุบันเมรี่คลินิกปิดทำการแล้ว)


...::: เมรี่คลินิก :::...
คลินิกตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนมารีย์วิทยา อยู่หลังสถานีรถไฟโคราชในปัจจุบัน

ค.ศ.1960 แมร์อันนา เดอ เยซู เข้ารับตำแหน่งเจ้าคณะแขวงคนที่ 2 ของแขวงประเทศไทย ท่านมุ่งที่จะปรับปรุงโรงเรียนในเครือของคณะฯ ให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยเหมาะกับสังคมไทยในสมัยนั้น ท่านจึงได้ขยายการทำงานของคณะฯ ไปทางภาคตะวันออก ดังนี้ :


...::: โรงพยาบาลเซนต์โยเซฟ สี่พระยา ปัจจุบันโรงพยาบาลดังกล่าวได้ปิดทำการไปแล้ว :::...

ค.ศ. 1962 คณะฯ เข้ารับบริหารงานโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟ ที่ถนนสี่พระยา (ปัจจุบันโรงพยาบาลดังกล่าวปิดไปแล้ว)


...::: สถานที่แห่งใหม่ของโรงเรียนวจนคาม และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ จวบจนปัจจุบัน :::...

ค.ศ. 1963 คณะฯ ซื้อที่ดินแห่งใหม่เพื่อสร้างตึกเรียนใหม่ของโรงเรียนวจนคาม ศรีราชา เนื่องด้วยมีนักเรียนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก และไม่สามารถขยายพื้นที่ได้เพราะติดทะเล จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์"


...::: อาคารหลังแรกของโรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง :::...

ค.ศ. 1963 คณะฯ เปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง ที่จังหวัดระยอง


...::: อาคารหลังแรกของโรงเรียนเซนต์โยเซฟบางนา :::...

ค.ศ. 1968 คณะฯ เปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟบางนา ที่จังหวัดสมุทรปราการ

แมร์หลุยส์ เดอ ลาตรีนิเต กิจเจริญ ได้รับเลือกให้เป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวงคนไทยคนแรก ท่านได้เพิ่มมิติของงานบริการด้านการศึกษามากขึ้น โดยร่วมงานกับพระศาสนจักรท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด ท่านจึงรับงานตามคำขอของสังฆมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศดังนี้ :


...::: โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ :::...


...::: โรงเรียนภัทรวิทยา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก - สังฆมณฑลนครสวรรค์ :::...

ค.ศ. 1970 คณะฯ รับบริหารงานโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
และรับดำเนินงานโรงเรียนภัทรวิทยา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ค.ศ. 1973 คณะฯ ได้ย้ายนวกสถานไปที่ด้านหลังของโรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา


...::: โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา - สังฆมณฑลนครราชสีมา :::...

ค.ศ. 1974 คณะฯ ได้ดำเนินงานที่โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนคราชสีมา ซึ่งพัฒนาจากซนต์เมรี่คลินิก


...::: โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา ยานนาวา กรุงเทพฯ - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ :::...


...::: โรงเรียนศรีเพชรบูรณ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ - สังฆมณฑลนครสวรรค์ :::...
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเซนต์โยเซฟศรีเพชรบูรณ์" เมื่อปี ค.ศ. 1997

ค.ศ. 1975 คณะฯ รับหน้าที่บริหารโรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา และ ในปีนี้ คณะเซอร์ฯ ได้เริ่มสอนคำสอนแก่สัตบุรุษในเมือง
และตามหมู่บ้านที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาได้รับบริจาคที่ดินประมาณ 17 ไร่ ได้ก่อสร้างโรงเรียนศรีเพชรบูรณ์วิทยา จังหวัดเพชรบูรณ์


...::: โรงเรียนซางตาครู้สศึกษา เขตธนบุรี กรุงเทพฯ - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ :::...


...::: โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ :::...

ค.ศ. 1977 คณะฯ รับบริหารงานโรงเรียนซางตาครู้สศึกษา และเปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล จังหวัดสมุทรปราการ

ภายใต้การดูแลคณะของแมร์มีเรียม เดอ แซงต์ อานน์ กิจเจริญ ในช่วงเวลานี้ คณะฯ ได้ขยายงานออกไปทั่วทุกภูมิภาค
ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก และภาคอีสาน ซึ่งงานดังกล่าวคืองานด้านการศึกษา งานด้านการพยาบาล
งานแพร่ธรรม และงานเมตตาสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ตามจิตตารมณ์ของคณะฯ

ค.ศ. 1978 - 2001 บาทหลวงมารีอุส หลุยส์ เบรย์ ขอให้คณะฯมาบริหาร โรงเรียนรุ่งอรุณวิทยา ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
(ปัจจุบันคณะฯ มิได้บริหารงานแล้ว)

ค.ศ. 1979 พระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร แห่งสังฆมณฑลอุดรธานี ได้ขอคณะเซอร์ฯ ไปประจำที่ ศูนย์ประกาศข่าวดี จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคณะมิได้ปฏิบัติงานแล้ว)

ในปีเดียวกัน พระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต แห่งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ได้ขอภคินีไปประจำที่โรงเรียนอนุบาลดอนบอสโก เกาะสมุย
ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเซนต์โยเซฟเกาะสมุย" นอกจากนี้ คณะฯ ได้ส่งคณะเซอร์ฯด้านการพยาบาล ไปประจำที่
สถานพยาบาลมารีย์อุปถัมภ์ เกาะสมุย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก

ค.ศ. 1980 คณะฯ เปิดบ้านเซนต์ร็อค จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นสถานที่อบรมฟื้นฟูจิตใจประจำปี

ค.ศ. 1982 คณะฯ ได้เข้าช่วยบริหารงานโรงเรียนอนุบาลนิจจานุเคราะห์ จังหวัดหนองคาย

ค.ศ. 1983 คณะฯ เปิดโรงเรียนเซนต์ปอลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ค.ศ. 1984 คณะฯ ได้ทำงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่โรงเรียนร่มเกล้า ชุมชนแออัดคลองเตย
(ปัจจุบันคณะฯ มิได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว)

ค.ศ. 1985 ฯพณฯ พระอัครสังฆราชไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้มอบให้คณะฯ ดูแลโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ คลองกุ่ม
และในปีนี้เดียวกันนี้ คณะฯ ได้รับบริหารงานโรงเรียนวิริยพาณิชย์ และโยนออฟอาร์คพาณิชยการของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
(ทั้งสองโรงเรียนนี้ ได้ปิดกิจการแล้ว)

ค.ศ. 1987 คณะฯ ได้เปิดบ้านยุวภคินี เพื่อเป็นสถานที่อบรมฟื้นฟูจิตใจของยุวภคินี (บ้านท้ายสวน)

ค.ศ. 1988 คณะฯ รับโอนโรงเรียนโรซารีโอวิทยา ตำบลเวียงคุก จังหวัดหนองคาย จากสังฆมณฑลอุดรธานี

ค.ศ. 1989 คณะฯ เปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟ เพชรบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะฯ ในสังฆมณฑลราชบุรี

ค.ศ. 1990 ฯพณฯ พระสังฆราช สังวาลย์ ศุระศรางค์ แห่งสังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้ขอคณะเซอร์ฯ มาบริหารงานที่ โรงเรียนศีลรวี
อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา เผ่าต่าง ๆ

คณะฯ ได้ส่งคณะเซอร์ฯ เข้าบริหารงานโรงเรียนสันติวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อให้การศึกษาอบรมแก่เด็กชาวไทยภูเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย

นอกจากนี้คณะฯ ได้รับบริหารงานโรงเรียนวิริยาลัย ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (ต่อมา คือ โรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล ซึ่งปิดการแล้ว)

ค.ศ. 1990 - 1994 อธิการคณะนักบวชรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ได้ขอคณะเซอร์ฯ ไปร่วมบริหารโรงเรียนดรุโณทัย จังหวัดตรัง
(ปัจจุบันคณะฯ มิได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว)

ค.ศ. 1994 ฯพณฯ พระอัครสังฆราช คายน์ แสนพลอ่อน ได้โอนโรงเรียนเซนต์โยเซฟ ท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ให้คณะฯ ดำเนินงาน

ค.ศ. (1994 - 2004) สภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย มีมติให้คณะเซอร์เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 10 ปี

และรับงานที่สถานเอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกันประจำประเทศไทย

ค.ศ. 1995 คณะฯ ร่วมกับมูลนิธิอุบลรัตน์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดตั้งโรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อให้การศึกษาอบรม และฝึกอาชีพแก่เยาวนารีที่ยากจน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวไทยภูเขา เพื่อให้นำความรู้
ความสามารถกลับไปพัฒนาหมู่บ้านของตน

ในปีนี้ คณะได้รับโอนกิจการของโรงเรียนผดุงดรุณี ที่ถนนประมวล และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม และได้ย้ายนักเรียนระดับประถม จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ที่บางรัก มาที่นี่

ค.ศ. 1996 คณะฯ รับงานที่ศูนย์คริสตศาสนธรรมภาคอีสาน บริเวณสักการสถานมรณสักขีแห่งประเทศไทย สองคอน จังหวัดมุกดาหาร

และในปีนี้คณะฯ ยังเปิดโรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่ระมาด จังหวัดตาก เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาเด็กชาวไทยภูเขาและเด็กยากจน

ค.ศ. 1997 แมร์มีเรียนม เดอ แซงต์อานน์ กิจเจริญ และเซอร์อักแนส บุญรักษา ศรีตระกูล ได้เดินทางไปเตรียมงานของคณะฯ
ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ในสมัยเซอร์ฟรังซัวส์ ชีรานนท์ เป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวงฯ เพื่อพัฒนาการศึกษาให้รุดหน้า และก้าวให้ทันต่อการพัฒนา
และการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ โลกไร้พรมแดน โดยมีภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร
และเพื่อเตรียมการสู่ศตวรรษใหม่ คณะฯ จึงได้มีการปรับปรุง และพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังนี้ :

ในปี ค.ศ. 1997 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ได้เปิดโปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอน และผู้สอนเป็นภาษาอังกฤษ
(ENGLISH PROGRAM)

ในปีนี้เอง คณะฯ ยังได้เปิดโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมี 2 แผนก คือ แผนกภาษาไทย และแผนกการเรียนการสอนที่ใช้สื่อการสอน และผู้สอนเป็นภาษาอังกฤษ (ENGLISH PROGRAM)

วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1997 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จ เป็นองค์ประธานเปิดอาคารมูลนิธิอุบลรัตน์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และทรงเจิมศิลาฤกษ์อาคารกาญจนาภิเษก ณ ศูนย์มูลนิธิอุบลรัตน์ฯ โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์
อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสำหรับเยาวนารีที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามทางเพศ และชาวไทยภูเขาที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

ค.ศ. 1998 คณะฯ เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

คณะฯยังตอบเสียงเรียกร้องของปัญหาสังคมปัจจุบันที่เร่งด่วนที่สุด ด้วยการเปิด "บ้านมิตราทร" เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ติดเชื้อ HIV จากบิดา มารดา ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยร่วมงานกับโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ในโอกาสครบร้อยปีแห่งการทำงานของคณะฯ ในประเทศไทย

ค.ศ. 2000 คณะฯ ได้เปิดโรงเรียนวิชาชีพคนพิการสีเกิด บ้านสีเกิด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เพื่อคนพิการชาวลาว โดยมีคนพิการให้ความสนใจมาเรียนกว่า 100 คน ปัจจุบันคนพิการเหล่านี้มีอาชีพที่มั่นคง สามารถหาเลี้ยงชีพ และครอบครัว
พร้อมยังนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศ นักเรียนส่วนหนึ่งที่จบไป ได้กลับมาเป็นผู้ให้ความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้

ค.ศ. 2002 คณะฯ ขยายงานด้านสังคมสงเคราะห์ โดยเปิดบ้านพรแดนสรวง จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ และรับเลี้ยงเด็กเล็กและบุตรของผู้ต้องขังหญิง จนกว่ามารดาจะพ้นโทษ

 

 

1. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475)
2. สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้น ค.ศ. 1939 - 1947
3. การเบียดเบียนศาสนา ค.ศ. 1940 - 1944 ซึ่งกรณีพิพาทอินโดจีน ทำให้ประชาชนชาวไทยถือว่าชาวฝรั่งเศสเป็นศัตรู
รวมทั้งศาสนาคริสต์ในประเทศไทยด้วย [กลับไปที่เดิม]

มิสซังจันทบุรีแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของมิสซังกรุงเทพฯ ได้แยกเป็นมิสซังใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1944
มีชื่อว่า “มิสซังจันทบุรี”
 มีพื้นที่ประมาณ 34,000 ตร.กม. รวม 7 จังหวัด ได้แก่ 1.ตราด 2.จันทบุรี 3.ระยอง 4.ชลบุรี 5.ฉะเชิงเทรา 6.นครนายก
และ 7.ปราจีนบุรี สำหรับ จังหวัดฉะเชิงเทราฝั่งขวาของแม้น้ำบางปะกงเป็นของมิสซังกรุงเทพฯ และที่จังหวัดนครนายก อ.บ้านนาเป็นของมิสซังกรุงเทพฯ
(ตั้งแต่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1993 มีจังหวัดสระแก้วเพิ่มอีก 1 จังหวัด)
[กลับไปที่เดิม]